8 วิธีเอาชีวิตรอดจากเพลิงไหม้อาคารสูง

จำนวนผู้เข้าชม : 627
Tag:

8 วิธีเอาชีวิตรอดจากเพลิงไหม้อาคารสูง

     ฤดูร้อนเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยสูง ซึ่งผู้เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้ส่วนใหญ่เกิดจากการสำลักควัน เนื่องจากไม่มีความรู้ ในการอพยพหนีไฟอย่างถูกวิธี ถึงแม้จะมีประกันอัคคีภัย มาช่วยบรรเทาความเสียหายได้ แต่นั้นก็เป็นเพียงความเสียหายของทรัพย์สินเท่านั้น แต่ชีวิตคนไม่สามารถทดแทนกันได้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย ขอแนะนำวิธีปฏิบัติตนเพื่อเอาชีวิตรอด และการอพยพออกจากอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ ตามคำแนะนำของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ครับ

8 ข้อควรปฏิบัติเพื่อเอาชีวิตรอด

1. หากเพลิงไหม้เล็กน้อย ใช้ถังดับเพลิงควบคุมเพลิงในเบื้องต้น และโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง

2. หากเพลิงไหม้รุนแรง ตะโกนบอกหรือกดสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ พร้อมอพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ และโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่ดับเพลิง

3. ก่อนออกจากห้องให้ใช้มือสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตู หากไม่ร้อน ให้เปิดประตูออกไปช้าๆ และอพยพตามเส้นทางหนีไฟที่ปลอดภัย

4. หากสัมผัสผนังหรือลูกบิดประตู แล้วมีความร้อนสูง ห้ามเปิดประตูออกไป เพราะอยู่ในวงล้อมของกองเพลิง ให้ใช้ผ้าหนาๆ ชุบน้ำอุดตามช่องที่ควันไฟสามารถลอยเข้ามาได้

5. ปิดพัดลมระบายอากาศและเครื่องปรับอากาศ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟ พร้อมโทรศัพท์แจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อบอกตำแหน่งที่ติดอยู่ และส่งสัญญาณให้ผู้อื่นทราบ

6. อพยพออกจากพื้นที่เกิดเพลิงไหม้ ใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปาก หรือใช้ถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่อัดอากาศบริสุทธิ์แล้วนำมาครอบศีรษะ เพื่อป้องกันการสูดดมควันไฟ เข้าสู่ร่างกาย

7. หมอบคลานต่ำหรือย่อตัวใกล้กับระดับพื้นมากที่สุด เนื่องจากอากาศบริสุทธิ์อยู่เหนือระดับพื้นไม่เกิน 1 ฟุต เพื่ออพยพไปสู่ประตูทางออกฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

8. ใช้บันไดหนีไฟในการอพยพออกจากอาคาร เนื่องจากมีช่องระบายอากาศ จึงช่วยลดการสูดดมควันไฟเข้าสู่ร่างกาย

     หากเราเรียนรู้ จดจำ และฝึกซ้อมวิธีปฏิบัติตนในการหนีไฟอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากเพลิงไหม้อาคารสูงได้ และเพิ่มโอกาสที่จะรอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้มากขึ้นครับ

อ่าน 8 กฎเหล็กในการเอาตัวรอดจากเพลิงไหม้อาคารสูง 

 

เลือกซื้อ ประกันภัยบ้าน จากทิพยประกันภัยง่ายๆ คลิกเลย!!

ประกันภัยบ้าน ออนไลน์

ปล. กดติดตาม เพจ ทิพยประกันภัย แล้วคุณจะไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวบนโลกโซเชียว อินทุกกระแส ครับ 

 

ขอบคุณคำแนะนำดีๆ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย