เช็กก่อน! อาการแบบไหนเป็นไข้หวัดใหญ่ โรคอันตรายที่มากับฝน พร้อมคำแนะนำ!
จำนวนผู้เข้าชม : 252

เช็กก่อน! อาการแบบไหนเป็นไข้หวัดใหญ่
โรคอันตรายที่มากับฝน พร้อมคำแนะนำ!
ในวันนี้หลายคนอาจระมัดระวังในเรื่องของเชื้อไวรัสโคโรนามากกว่าเชื้อไวรัสตัวอื่น แต่อย่าลืมว่าเมื่อเข้าหน้าฝนแล้วยังมีเชื้อไวรัสและอีกหลายโรคที่จะเข้ามาทำลายภูมิคุ้มกันของเราได้ ซึ่งไข้หวัดใหญ่ก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่มาพร้อมฝนแถมยังเป็นโรคที่หากเป็นแล้วอาจมีความรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบหรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว
ซึ่งไข้หวัดใหญ่นี้สามารถพบได้ทุกช่วงวัย ส่วนมากมักพบในเด็กแต่อัตราการเสียชีวิตจะเกิดกับผู้ป่วยสูงวัยหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวมากกว่า และเนื่องจากไข้หวัดมีต้นเหตุจากการติดเชื้อไวรัส (Influenza H1N1) สิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้คือการรับวัคซีนเป็นประจำทุกปี สามารถฉีดได้ทุกเพศทุกวัย โดยเด็กสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือน ซึ่งวัคซีนจะช่วยป้องกันและกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงลดอัตราการเสียชีวิตลงได้
แต่เพราะมีอีกหลายโรคที่รุมเร้าเข้ามา วันนี้จึงชวนเช็กกันมาว่าอาการแบบไหนกำลังบอกว่าคุณเป็นไข้หวัดใหญ่
เช็กอาการของไข้หวัดใหญ่ เป็นอย่างไร?
1. ไข้สูง 39-40 องศา
2. ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะหลัง ต้นแขน ต้นขา
3. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
4. มีอาการอ่อนเพลียฉับพลัน
5. เบื่ออาหาร
6. คัดจมูก มีน้ำมูกใส
7. ไอแห้ง
8. คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องร่วง
ซึ่งบางคนที่มีอาการรุนแรงอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ เช่น การอักเสบของเยื่อหุ้มหัวใจ หรือหลอดลมอักเสบและปอดบวม ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
โดยไข้หวัดใหญ่นั้นสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ฉะนั้นจึงควรล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด หากมีไข้เกิน 24 ชั่วโมง มีอาการหายใจลำบากให้รีบพบแพทย์ทันที
เนื่องจากเหตุการณ์ปัจจุบันหลายท่านอาจกำลังสับสนว่า อาการที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือติดเชื้อโควิด-19 กันแน่? อาการที่แตกต่างกันระหว่างสองโรคนี้คือ ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการเด่น ไข้สูงเฉียบพลันและปวดเมื่อยเนื้อตัวมาก ในขณะที่โควิด-19 อาการเด่นจะเป็นไอแห้งและมีไข้ไม่สูง แต่อย่างไรก็ตามให้หมั่นสังเกตอาการและหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้คน ล้างมือบ่อยๆ และใส่หน้ากากอนามัยเสมอ
และอย่าลืมว่าการทำประกันสุขภาพก็จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารักษาพยาบาลในยามที่คุณเจ็บป่วย เช็คราคาและแผนประกันได้เลย คลิก