มะเร็งผิวหนังซีกขวา จากการขับรถมีจริงหรือ?
จำนวนผู้เข้าชม : 15

มะเร็งผิวหนังซีกขวา จากการขับรถมีจริงหรือ?
จากผลวิจัยที่ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า คนไข้โรคมะเร็งผิวหนังที่เข้ารับการรักษา 898 ราย เป็นผู้หญิงกว่า 38% หรือ 339 คน (ผลวิจัยจากคณบดีของคณะโรคผิวหนัง โรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ หมอสกอตต์ ฟอสโค กับคณะศึกษา รายงานผลการศึกษาที่เสนอในที่ประชุมสมาคมแพทย์โรคผิวหนังอเมริกัน) โดยพบว่าร่างกายด้านซีกซ้ายถูกแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลตเวลาขับรถโดยตรง (ตามกฎจราจรของสหรัฐฯ พวงมาลัยรถจะอยู่ด้านซ้าย) โดยเฉพาะตามศีรษะ คอ แขน และมือ ผู้ขับรถเป็นประจำมานานเป็นปีๆ จะเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งผิวหนังอย่างค่อยเป็นค่อยไป
สำหรับแสงแดดเมืองไทยช่วงเวลาที่น่ากลัวที่สุดจะเป็นเวลา 10.00 - 15.00 น. เพราะช่วงเวลานี้แสงแดดจะมีรังสีอัลตราไวโอเลตทั้ง UVA และ UVB เมื่อผิวหนังได้รับรังสีอัลตราไวโอเลต 2 ตัว เมื่อสะสมนานเข้าจะกลายเป็นผลก่อให้เกิด “มะเร็งผิวหนัง” ตามมาในที่สุด ซึ่งผู้ขับรถหลายคนมีความเชื่อว่า การติดฟิล์มกันแดดรถยนต์แบบดำสนิททั้งคัน จะช่วยหลบเลี่ยงรังสีอัลตราไวโอเลตเหล่านี้ได้ แต่ความจริงฟิล์มกันแดดที่ติดอยู่บนกระจกรถยนต์บางชนิดป้องกันได้เฉพาะ UVB เท่านั้น แต่ไม่สามารถป้องกันรังสี UVA ที่เป็นตัวการทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง และ ริ้วรอยแห่งวัย ดังนั้น คุณผู้หญิงควรเลี่ยงการขับรถเผชิญแสงแดดนานๆ หลายชั่วโมง
แล้วเราจะป้องกันได้อย่างไร?
1. ทาครีมกันแดด ที่มีค่า SPF สูง ทั้งหน้า และ ตัว
2. ขณะขับรถควรสวมเสื้อแขนยาว เวลาออกเจอแสงแดด
3. สวมปลอกแขนเวลาขับรถ
4. เลือกฟิล์มกรองแสงที่ป้องกันรังสี UVA ด้วย
5. หมั่นทรีตเมนต์หน้า-ตัว เป็นประจำทุกเดือน เพื่อขจัดของเสียออกจากผิวหนัง
โปรพิเศษสำหรับสาว TIP Lady เพียงสมัครประกันรถยนตร์ นอกจากความคุ้มครองพิเศษมากมายแล้ว BB Clinic มอบโปรแกรมทรีตเมนต์มูลค่า 7,200 บาท บำรุงผิวหน้าเพื่อความกระจ่างใส จำนวน 1 ครั้งต่อเดือน ตลอดอายุกรมธรรม์ สนใจสมัครเลย https://www.tipinsure.com/Motor/motor_product_detail/first_class_lady
6. ปิดกระจกรถให้สนิททุกครั้งขณะขับรถเผชิญแสงแดด
7. ใช้ม่านบังแดดที่กระจกหน้า , กระจกหลัง และกระจกด้านข้าง