ขวดน้ำพลาสติกอย่างใช้ซ้ำ อันตรายพอๆกับใช้ลิ้นเลียฝารองนั่งชักโครก
จำนวนผู้เข้าชม : 331

ขวดน้ำพลาสติกอย่างใช้ซ้ำ อันตรายพอๆกับใช้ลิ้นเลียฝารองนั่งชักโครก
เผยเหตุผลว่าทำไมไม่ควรใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำ ผู้เชี่ยวชาญชี้ มีสารเคมีที่ส่งผลต่อฮอร์โมนเพศ รวมทั้งมีแบคทีเรียที่อันตรายพอๆ กับใช้ลิ้นเลียฝารองนั่งชักโครก
ใครจะคิดว่า การใช้ขวดน้ำพลาสติกซ้ำ พฤติกรรมที่หลาย ๆ คนเคยทำและอาจจะคิดว่าเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ จะเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างที่คาดไม่ถึง โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 เว็บไซต์อินดิเพนเดนท์ เผยรายงานว่า ขวดน้ำพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันนั้น ไม่ได้ผลิตมาเพื่อการใช้ซ้ำ ทั้งยังมีสารเคมีและเป็นแหล่งของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย โดยมีรายงานวิจัยเผยความน่ากังวลเกี่ยวกับสารเคมีที่ชื่อว่า บิสฟีนอล เอ (Bisphenol A หรือ BPA) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตขวดน้ำพลาสติก ว่ามีผลกระทบต่อฮอร์โมนทางเพศ
ดร.มาริลีน เกรนวิลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร เผยว่า สารเคมีบางชนิดที่พบในขวดพลาสติกสามารถมีผลกระทบต่อระบบในร่างกายของเราทุกคน อาจส่งผลต่อการตกไข่ และเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาที่เกิดจากฮอร์โมน เช่น โรคพีซีโอเอส (PCOS) หรือรังไข่ทำงานผิดปกติ, เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis) และ มะเร็งเต้านม เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีบทความที่น่าตกใจ ซึ่งถูกเผยแพร่โดยหน่วยงานการบริการด้านสุขภาพในสหราชอาณาจักร (National Health Service) ยืนยันว่า สารบิสฟีนอล เอ มีความสามารถในการเคลื่อนตัวเข้าสู่เครื่องดื่มได้ อย่างไรก็ดี ยังต้องมีการศักษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของสารเคมีดังกล่าวในร่างกายของมนุษย์
โดยอาจจะกล่าวได้ว่า ในการทางวิทยาศาสตร์ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดถึงวิธีการว่า สารบิสฟีนอล เอ จะสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ในลักษณะใด โดยอาจจะไปเลียนแบบฮอร์โมน และแทรกแซงระบบต่อมไร้ท่อ ที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย ซึ่งอาจเป็นปัจจัยในการเพิ่มโรคเจ็บป่วยในมนุษย์มากขึ้น อาทิ โรคมะเร็งเต้านม และโรคหัวใจ
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งผลข้างเคียงที่น่าเป็นกังวล ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากขวดน้ำดื่ม นั่นก็คือแบคทีเรีย จากรายงานการศึกษาโดยเทรดมิลล์ รีวิว (Treadmill Reviews) เผยว่า นักวิจัยได้ทำการทดสอบขวดน้ำของนักกีฬาหลังจากใช้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ พบว่า มีจำนวนแบคทีเรียสูงสุดมากกว่า 900,000 หน่วย ต่อตารางเซนติเมตร โดยเฉลี่ย
สิ่งที่น่ากลัวก็คือ จำนวนเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว เป็นจำนวนที่มากกว่าค่าเฉลี่ยของเชื้อแบคทีเรียที่ฝารองนั่งชักโครกในห้องน้ำทั่วไป ! นอกจากนี้ยังพบว่าร้อยละ 60 ของเชื้อโรคที่พบในขวดน้ำ สามารถทำให้คนป่วยได้
ดังนั้น สิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อหลีกเลี่ยงอาการป่วย วิธีการที่ง่ายที่สุดคือ อย่าเก็บขวดน้ำพลาสติกประเภทที่ใช้แล้วทิ้ง นำมาใช้ซ้ำ ให้ดื่มใช้เพียงครั้งเดียว จากนั้นก็นำไปทิ้ง ทั้งนี้ควรซื้อขวดพลาสติกที่ปลอดสาร บิสฟีนอล เอ (BPA) หรือหากเป็นไปได้ ควรลงทุนซื้อน้ำที่บรรจุในขวดที่สามารถใช้ซ้ำได้ ซึ่งผลิตจากแก้วหรือ สแตนเลสชนิดไร้สนิม
เลือกซื้อ ประกันรถยนต์ ประกันรถยนต์ชั้น 1จากทิพยประกันภัยง่ายๆ คลิกเลย!!
ปล. กดติดตาม เพจ ทิพยประกันภัย แล้วคุณจะไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวบนโลกโซเชียว อินทุกกระแส ครับ
ที่มา : kapook.com