ไขข้อสงสัยนิ้วล็อคเกิดจากอะไร อาการยอดฮิตที่พนักงานออฟฟิศเป็นบ่อย
จำนวนผู้เข้าชม : 618

ไขข้อสงสัยนิ้วล็อคเกิดจากอะไร
เคยสงสัยไหมว่าภัยเงียบนิ้วล็อคเกิดจากอะไร เพราะเวลาที่มีอาการนิ้วล็อคเกิดขึ้นกับเรา อาจทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ฉะนั้นแล้วเพื่อป้องกันภัยเงียบไม่ให้เข้ามาคืบคลาน ในบทความนี้ TIPINSURE ได้เตรียมคำตอบว่านิ้วล็อค คือ อะไร, นิ้วล็อคเกิดจากอะไร, ระยะอาการทั้งหมดของนิ้วล็อค และวิธีป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดขึ้น หากใครไม่อยากเข้าข่ายสุ่มเสี่ยงเป็นนิ้วล็อค ลองอ่านทำความเข้าใจกันได้เลย
โรคนิ้วล็อคคืออะไร
โรคนิ้วล็อค (Trigger Finger) คือ อาการที่นิ้วเกิดล็อคเมื่อเรางอนิ้ว แล้วไม่สามารถเหยียดนิ้วกลับไปตรงเหมือนเดิมได้ตามปกติ ซึ่งโดยส่วนมากแล้วอาการนิ้วล็อคจะเกิดขึ้นได้กับนิ้วโป้ง นิ้วนาง หรือนิ้วชี้ รวมถึงสามารถเกิดขึ้นกับนิ้วมือทั้ง 2 ได้พร้อมกัน และถ้าใครอยากรู้ว่านิ้วล็อคเกิดจากอะไร เตรียมหาคำตอบได้จากหัวข้อถัดไป
โรคนิ้วล็อคเกิดจากอะไร
โรคนิ้วล็อคเกิดจากอะไร คำตอบ คือ การที่เราใช้แรงงอนิ้วหรือกำนิ้วแน่นมาก ๆ จนทำให้เกิดแรงเสียดสีบริเวณปลอกหุ้มเอ็นที่อยู่ภายใน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเซลล์เสื่อมร่วม และกลายเป็นอาการอักเสบที่ทำให้ไม่สามารถเหยียดนิ้วกลับมาตรงได้ง่ายเหมือนปกติ
ระยะของอาการนิ้วล็อค
ระยะของอาการนิ้วล็อค มีทั้งหมด 4 ระยะด้วยกัน หากรู้แล้วว่าอาการนิ้วล็อคเกิดจากอะไร และสุ่มเสี่ยงที่จะเป็น ลองเช็กกันได้เลยว่าลักษณะอาการที่คุณกำลังเผชิญ อยู่ในระยะไหน รุนแรงมากหรือไม่
นิ้วล็อคระยะที่ 1
เริ่มมีอาการปวดตึง งอสะดุดเล็กน้อย เจ็บบริเวณข้อโคนนิ้วด้านหน้าเมื่อได้รับแรงกด แต่นิ้วยังสามารถเหยียดงอได้
วิธีรักษานิ้วล็อคระยะที่ 1 คือ ทานยา*, ทายา*, บริหารการเหยียดนิ้ว และแช่น้ำอุ่น (ตามที่เภสัชกรแนะนำ)
นิ้วล็อคระยะที่ 2
อาการงอนิ้วสะดุดมากขึ้น เหยียดไม่ออก ต้องช่วยง้างถึงจะสามารถงอได้
วิธีรักษานิ้วล็อคระยะที่ 2 คือ ทานยา*, ทายา*, บริหารการเหยียดนิ้ว และแช่น้ำอุ่น (ตามที่เภสัชกรแนะนำ)
นิ้วล็อคระยะที่ 3
เข้าสู่ระยะที่ไม่สามารถงอนิ้วได้ หากงอนิ้วจะติดเหยียดไม่ออก
นิ้วล็อคระยะที่ 4
นิ้วติด ข้อนิ้วจะยึดติดจนไม่สามารถงอได้แล้ว
วิธีรักษานิ้วล็อคระยะที่ 3 และ 4 คือ ต้องฉีดยาสเตอรอยด์เข้าที่บริเวณปลอกหุ้มเอนที่อักเสบ และใช้การบริหารนิ้วร่วมด้วย (ไม่ควรฉีดยาเกิน 2 ครั้ง) หากกลับมาเป็นซ้ำอีกควรได้รับการผ่าตัด
วิธีป้องกันอาการนิ้วล็อค
เมื่อทราบแล้วว่าอาการนิ้วล็อคเกิดจากอะไร วิธีการป้องกัน คือ ไม่หิ้วของหนัก, ไม่บิดผ้าแรง ๆ, เลี่ยงงานที่มีแรงสะเทือน, เลี่ยงการยกของด้วยมือเปล่า และควรพักการใช้มือเป็นระยะ โดยเฉพาะช่วงเวลาทำงาน
สรุปบทความ
หากดูจากภาพรวมแล้วของนิ้วล็อคเกิดจากอะไร จะเห็นได้ชัดเจนว่าอาการนี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากเราใช้งานนิ้วมืออย่างหักโหมมากเกินไป ฉะนั้นควรดูแลรักษาร่างกายตัวเองตามคำแนะนำให้ดี รวมถึงการเลือกทำประกันสุขภาพที่จะช่วยดูแลคุณระหว่างที่เป็นนิ้วล็อคได้จนหายดี ไม่ว่าคุณจะรักษาในฐานะผู้ป่วยนอกด้วยการรับยา หรือเข้ารับการผ่าตัดรักษาต่อเนื่องจนหายดี ประกันสุขภาพและอุบัติเหตุจาก TIPINSURE ก็พร้อมดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา