ตัวตึงต้องระวัง อาการสะบักจมเกิดขึ้นได้ยังไง ป้องกันยังไงไม่ให้เป็น
จำนวนผู้เข้าชม : 295

ทำความรู้จักกับอาการสะบักจม
งานหนักไม่เคยทำร้ายคนอื่น แต่มันกลับทำร้ายเรา! โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่เสี่ยงอาการสะบักจมแบบไม่รู้ตัว จากจุดเริ่มต้นเพียงแค่ปวดหลัง ปวดสะบักเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ได้รักษา หรือมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเลี่ยงอาการเหล่านั้น จึงอาจต่อยอดไปเป็นอาการสะบักจม ที่ปวดทุกวันจนน่ารำคาญ บางครั้งอาจทนไม่ไหว ใครที่ใช้วิถีชีวิตแบบพนักงานออฟฟิศทุกวันแต่ไม่อยากเจอกับอาการสะบักจม TIPINSURE มีข้อมูลดี ๆ มาให้อ่านก่อนต้องเจ็บกันจนทนไม่ไหว!
สะบักจมคืออะไร
สะบักจม คือ อาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก อาจมีอาการเมื่อยล้าสะสมตามมา เมื่อมีอาการเพิ่มมากขึ้นก็จะกลายเป็นการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เรารู้สึกปวดเมื่อยจนถึงปวดเจ็บได้ทั้งวัน
สะบักจมเกิดจากอะไร
สะบักจมเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า สะบักอย่างหนักหน่วงเป็นเวลานาน และถ้ากล้ามเนื้อจุดนั้นยังคงมีการใช้งานต่อเนื่อง ก็อาจทำให้เกิดอาการเกร็ง และปวดเมื่อยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นอาการสะบักจมในที่สุด โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องอยู่ท่าเดิมนาน ๆ รวมถึงคนที่ใช้สมาร์ตโฟนเป็นเวลานานก็ควรระวังมาเป็นพิเศษเช่นกัน
ลักษณะของอาการสะบักจม
ลักษณะอาการสะบักจม หรือปวดสะบัก จะแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือ อาการปวดหลัง ปวดสะบัก และอาการปวดสะบักถึงขั้นลามไปส่วนอื่นของร่างกาย โดยมีรายละเอียดดังนี้
- อาการปวดหลัง ปวดสะบัก: ปวดเมื่อยหรือตึงกล้ามเนื้อระหว่างสะบักทั้ง 2 ซึ่งเป็นสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรมด้วย และอาการปวดสะบักอย่างเดียว ไม่ว่าจะข้างซ้ายหรือขวา คือ อาการสะบักจมที่ทำให้รู้สึกปวดเสียด ปวดลึก
- อาการปวดสะบักลามไปส่วนอื่นของร่างกาย: ปวดสะบักร่วมคอบ่าไหล่, ปวดสะบักร้าวลงแขน มีอาการชานิ้วร่วมด้วย, อาการปวดสะบักจนหายใจได้ไม่เต็มที่ และการปวดสะบักร่วมอาการปวดหลัง
วิธีการป้องกันและบรรเทาอาการสะบักจม
วิธีการป้องกันและบรรเทาอาการสะบักจม ได้แก่ การปรับพฤติกรรม, การรักษาโดยใช้ยา, ทำกายภาพบำบัด และการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อสรีระร่างกาย ซึ่งแนวทางเบื้องต้นในแต่ละวิธีมีดังนี้
- ปรับพฤติกรรม: เลี่ยงการยกของหนัก, บริหารกล้ามเนื้อหลังและสะบักสม่ำเสมอ, ไม่เคลื่อนไหวท่าเดิมซ้ำ ๆ หรือนั่งนานจนเกินไป, แบ่งเวลาพักกล้ามเนื้อให้ไม่ทำงานหนัก, หากิจกรรมออกกำลังกายเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ และปรับท่านั่ง การยืนให้เหมาะสม คอไม่ยื่น หลังไม่ค่อม ไม่งอไหล่
- การรักษาโดยใช้ยา: ยาทาน เช่น ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาต้านการอักเสบ เพื่อลดอาการ (ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา)
- ทำกายภาพบำบัด: เป็นวิธีรักษาอาการสะบักจมได้ดีที่สุด แต่ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัดเท่านั้น
- จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม: เลือกเก้าอี้ทำงานที่รองรับสรีระได้ดี, จัดระดับความสูงของโต๊ะ เก้าอี้ให้สัมพันธ์กัน, เพิ่มแสงสว่างให้เพียงพอ และหมอนที่ใช้ไม่ควรกดหรือเงยศีรษะมากเกินไป
สรุปบทความ
อย่างไรก็ตามอาการสะบักจมมักเริ่มต้นได้จากการปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดบ่าร่วมด้วย ทำให้เราอาจแยกไม่ออกว่าอันไหนคืออาการที่แท้จริง แต่ถ้าเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่อเนื่องทุกวัน นั่นไม่ใช่เรื่องที่ดีอย่างแน่นอน โดยเฉพาะอาการปวดที่เกิดขึ้นซ้ำจุดเดิม หากเป็นช่วงแรก ๆ ที่เราสังเกตอาการได้ ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม หากยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาในการรักษาจนกว่าจะหาย
ซึ่งถ้าใครไม่อยากรับมือกับค่าใช้จ่ายการรักษาที่ดูจะบานปลาย TIPINSURE แนะนำว่าควรมีประกันสุขภาพและอุบัติเหตุคอยคุ้มครองไว้ เพื่อที่อนาคตคุณจะได้ไม่ต้องปวดหัวกับค่าใช้จ่าย และพร้อมรักษาตัวเองให้หายดีจากทุกโรคได้อย่างสบายใจ