ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการยกก้านที่ปัดน้ำฝน

จำนวนผู้เข้าชม : 673

บ่อยครั้งที่ผู้ขับขี่มักจะได้รับคำแนะนำว่า ถ้าจอดรถทิ้งไว้กลางแดด เราต้องยกก้านปัดน้ำฝนขึ้นมา เพื่อไม่ให้ตัวยางที่ปัดน้ำฝนได้รับความร้อนจากกระจกรถยนต์ ซึ่งจะทำให้เนื้อยางเกิดการกรอบและเสื่อมคุณภาพไปในเวลาอันรวดเร็ว แต่สิ่งหนึ่งที่ใครหลายคนมองข้ามไปก็คือ การยกก้านที่ปัดน้ำฝนนั้นจะทำให้คุณภาพของสปริงที่ยึดติดกับตัวก้านเสื่อมสภาพไปก่อนเวลาอันควร เนื่องจากสปริงจะถูกรั้งไว้เป็นระยะเวลานาน ทำให้สปริงหย่อนตัวลง และมีผลต่อการปัดน้ำฝนในระยะยาว เรามีข้อแนะนำดีๆสำหรับการดูแลก้านที่ปัดน้ำฝนมาฝากครับ

1. ยางที่ปัดน้ำฝนจะมีคุณสมบัติทนต่อความร้อน โดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี และราคาไม่แพงมาก หาซื้อได้ตามร้านประดับยนต์ทั่วไป

2. ผิวกระจกด้านหน้ารถไม่ได้มีความร้อนสูงมากมาย ไม่ว่าจะยกก้านหรือไม่ยกก้าน ยางปัดน้ำฝนก็จะเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ

3. สาเหตุที่ยางปัดน้ำฝนเสื่อมเร็วกว่าปกติ ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากความร้อน แต่เกิดจากการใช้งานและการดูแลรักษามากกว่า

4. ภายหลังจากการจอดรถตากแดดทุกครั้งให้ยกก้านใบปัดน้ำฝนขึ้นมา แล้วนำผ้าเช็ดยางที่ปัดน้ำฝนเบาๆ แล้วไปเช็ดบนกระจกบริเวณที่ยางปัดน้ำฝนแนบอยู่

5. หากไม่เช็ดออก ยางปัดน้ำฝนจะกวาดเอาเศษฝุ่นผงหรือเศษทรายเล็กๆ กดกับกระจกจนยางฉีกเป็นรอยทำให้การปัดน้ำฝนบนกระจกอาจจะไม่เกลี้ยงได้

6. ทำความสะอาดยางปัดน้ำฝน โดยการใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดค่อยๆ เช็ด หลีกเลี่ยงน้ำยาที่มีสารเคมีผสมเด็ดขาด และควรทำความสะอาดยางปัดน้ำฝนด้วยตนเองสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

7. การเลือกซื้อยางปัดน้ำฝน ควรดูขนาดที่ระบุในคู่มือเป็นสำคัญ หรืออยากจะถอดใบปัดอันเก่าเพื่อไปเทียบที่หน้าร้านเลยก็ได้เลย

8. อุปกรณ์สำหรับการปัดน้ำฝนเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมีผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็นของผู้ขับขี่ในกรณีที่ระหว่างทางมีฝนตกเกิดขึ้น ดังนั้นเราควรคอยดูแลตรวจเช็คคุณภาพของยางปัดน้ำฝนอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการเสื่อมสภาพหรือหมดอายุการใช้งานแล้ว เราควรหาซื้อมาเปลี่ยนโดยทันที


ขอขอบคุณข้อมูลจาก: thairath.co.th และ auto.sanook.com

 

"ขับรถยนต์อย่างอุ่นใจให้ทิพยประกันภัยเป็นเพื่อนร่วมทางด้วยนะครับ"

 

เลือกซื้อ ประกันรถยนต์ ประกันรถยนต์ชั้น 1จากทิพยประกันภัยง่ายๆ คลิกเลย!!

ประกันภัยรถยนต์ ออนไลน์

 

หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Facebook Fanpage ทิพยประกันภัย

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง