ชัวร์ก่อนซื้อ! วิธีเลือกปลั๊กมาตรฐาน มอก. หมดกังวลเรื่องความปลอดภัย

จำนวนผู้เข้าชม : 202

 

ชัวร์ก่อนซื้อ! วิธีเลือกปลั๊กมาตรฐาน มอก. หมดกังวลเรื่องความปลอดภัย

         เมื่อพูดถึงปลั๊กพ่วงเชื่อเลยว่าเป็นของจำเป็นที่แทบทุกบ้านจะต้องมี แต่รู้หรือไม่ว่าปลั๊กพ่วงนี่แหละเป็นบ่อเกิดเหตุอันตรายภายในบ้าน เพราะหากปลั๊กพ่วงที่ซื้อมานั้นไม่ได้มาตรฐาน เสี่ยงไฟฟ้าลัดวงจรจนเกิดไฟไหม้ได้เลย อย่าคิดว่าใช้ปลั๊กแบบไหนก็ได้เหมือนกันโดยเด็ดขาด

         ความปลอดภัยในชีวิต รวมถึงทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัยนั้นเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่อยากกังวลกับเหตุการณ์เหล่านี้ การซื้อปลั๊กพ่วงที่ได้รับมาตรฐาน มอก. จึงเป็นสิ่งที่ควรลงทุนอย่างยิ่ง ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อที่ได้มาตรฐานซึ่งราคานั้นก็ไม่ได้สูงจนเอื้อมไม่ถึงเหมือนเมื่อก่อนแล้ว

         รอบนี้ TIPINSURE เลยขอมาแนะนำวิธีการเลือกซื้อปลั๊กที่ได้รับมาตรฐาน มอก. ว่าควรดูตรงไหน ต้องเป็นแบบไหนถึงจะเรียกว่าได้มาตรฐานและปลอดภัย

1. สังเกตเครื่องมาตรฐาน มอก. 2432-2555

         หากอาหารและยาต้องดู อย. แน่นอนว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าก็ต้องดู มอก. ก่อนซื้อให้ตรวจเช็คว่ามีเครื่องหมาย มอก. หรือไม่ และเป็นต้อง มอก. 2432-2555 เท่านั้นนะ เพราะเป็นมาตรฐานชุดปลั๊กพ่วงที่ถูกกำหนดไว้ล่าสุดนั่นเอง

2. สายไฟมาตรฐาน มอก. 11-2553, มอก. 955

         สายไฟต้องตรงตามมาตรฐานมอก. 11-2553 หรือ มาตรฐานอื่นที่สอดคล้องกับ มอก.955 ซึ่งลักษณะจะเป็นสายไฟแบบกลม 

3. สวิตช์มาตรฐาน มอก. 824-2551
    สำหรับรุ่นที่มีสวิตช์ไฟ จะต้องเป็นสวิตช์ที่ได้มาตรฐาน มอก.824-2551 เท่านั้น

4. เต้ารับต้องมีตัวปิดช่อง

         ข้อนี้อาจทำให้หลายคนไม่ทันสังเกต อย่าลืมเช็คว่าเต้ารับหรือเรียกกันง่ายๆ ว่า รูที่ต้องเสียบปลั๊กจะต้องมีตัวปิดช่องเสียบหรือม่านปิดนิรภัย เพื่อป้องกันอันตรายจากผู้ใช้ไม่ให้สัมผัสกับแผ่นทองเหลืองด้านใน และเต้ารับทุกเต้าต้องต่อสายดินจริง ห้ามใช้รูสายดินหลอกเด็ดขาด

5. หัวปลั๊กต้อง 3 ขากลม มอก.166-2549

         อีกหนึ่งข้อที่อย่าลืมสังเกต หัวปลั๊กต้องใช้เป็นแบบ 3 ขากลม ตรงตามมาตรฐาน มอก.166-2549 เท่านั้น โดยหัวปลั๊กจะต้องเป็นขากลมทั้ง 3 ขาด้วยนะ อีกทั้งยังจะต้องมีฉนวนกันกระแสไฟฟ้าที่โคนขาปลั๊ก หรือสังเกตง่ายๆ คือมียางสีดำรอบขาปลั๊ก เพื่อที่เวลาเผลอแตะตัวปลั๊กจะได้ปลอดภัยนั่นเอง  

6. ตัวตัดไฟแบบเบรกเกอร์ ห้ามใช้ฟิวส์

         ข้อนี้เชื่อว่าหลายคนถ้าอ่านมาถึงตรงนี้จะต้องรีบไปหยิบปลั๊กพ่วงของที่บ้านมาดูอย่างแน่นอน เพราะสิ่งสำคัญอีกสิ่งของปลั๊กพ่วงคืออุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟเกิน ซึ่งจะต้องเป็นแบบเบรกเกอร์ในตัวเท่านั้น มอก. ระบุชัดเจนว่า ห้ามใช้ฟิวส์อย่างเด็ดขาด

7. ทำจากวัสดุไม่ติดไฟ

         ในข้อนี้อาจจะต้องใช้ความชำนาญสักเล็กน้อยในการสังเกตทุกข้อที่กล่าวมารวมเข้าไปด้วยและลองสัมผัสหรือพลิกดูอุปกรณ์ว่า ส่วนภายนอกของปลั๊กนั้นต้องทำจากวัสดุที่ไม่ติดไฟและทนความร้อน

         อีกสิ่งที่สำคัญอย่างมากและควรเช็คให้ชัวร์ก่อนเสียบปลั๊ก นั่นก็คือเรื่องของกำลังแรงไฟฟ้านั่นเอง ให้เลือกปลั๊กพ่วงที่มีขนาดพิกัดกระแสไฟฟ้าไม่ต่ำกว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีระบุกำลังไฟไว้ที่ฉลากหรือด้านหลังอุปกรณ์ แรงดันไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. จะกำหนดไว้ว่า แรงดันไฟฟ้าต้องไม่เกิน 440 W (โวลต์) และรองรับกระแสไฟฟ้าไม่เกิน 16 A (แอมป์)

         เช็คให้ชัวร์ก่อนซื้อ! ห้ามประมาทหรือมองข้ามความสำคัญของอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะเพียงแค่เราละเลยหรือเผลอเรอไปเล็กน้อย อาจก่อให้เกิดความสูญเสียที่ใหญ่หลวงยิ่งกว่าเงินที่จะต้องจ่ายปลั๊กพ่วงคุณภาพเสียอีก

         เมื่อได้ปลั๊กพ่วงที่ตรงตามมาตรฐาน อีกสิ่งที่จะช่วยให้หมดกังวลเรื่องความปลอดภัยของบ้านแสนรักได้ก็คือประกันอัคคีภัยบ้าน ที่จะช่วยบริหารความเสี่ยง ผ่อนหนักให้เป็นเบาในทุกความกังวล หากสนใจสามารถคลิกเพื่ออ่านรายละเอียดหรือซื้อออนไลน์ได้เลย คลิกตรงนี้

         กดติดตามข่าวสารและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ตลอดที่ Facebook ทิพยประกันภัย หรือ เว็บไซต์ TIPINSURE.com 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง