รู้หรือไม่? พ.ร.บ. รถคืออะไร ทำไมรถทุกคันต้องมี
จำนวนผู้เข้าชม : 147

รู้หรือไม่? พ.ร.บ. รถคืออะไร ทำไมรถทุกคันต้องมี
สงสัยกันไหม? ทำไมรถที่ขับสัญจรไปมาบนท้องถนนถึงต้องมี พ.ร.บ. รถทุกคัน อีกทั้งทำไมเจ้าของรถต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ทุกๆ ปี ซึ่งบทความนี้เราได้รวมคำถามที่ทุกคนสงสัยมาตอบให้กระจ่างชัดและรู้ไปพร้อมๆ กันว่า พ.ร.บ. รถมีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนกับรถของเรา
พ.ร.บ. รถคืออะไร
ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจอย่างถูกต้อง “พ.ร.บ. รถ” ก็คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นประกันภัยภายใต้ข้อบังคับทางกฎหมาย โดยรถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกจำเป็นต้องทำ เพื่อให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ประสบอุบัติภัยจากรถยนต์รวมถึงรถจักรยานยนต์ และรถทุกประเภท ทั้งกรณีที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยครอบคลุมทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ตลอดจนคนสัญจรบนทางเท้าทั่วไป ซึ่งเมื่อกำหนดให้เป็นภาคบังคับ แน่นอนว่า รถทุกคันต้องต่อ พ.ร.บ. รถทุกปีห้ามขาดเพื่อที่จะสามารถเสียภาษีรถยนต์รายปีต่อไปได้
ถ้าไม่มี พ.ร.บ. รถจะเกิดอะไรขึ้น
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า พ.ร.บ. รถเป็นข้อบังคับที่ทางกฎหมายกำหนดให้รถทุกคันต้องมี ซึ่งเมื่อไหร่ที่เราขับรถออกไปโดยไม่มี พ.ร.บ. รถ จะถือมีโทษทางกฎหมายโดยต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 10,000 บาททันที ไม่ว่ารถคันนั้นจะเป็นของเราหรือไม่ก็ตาม รวมถึงหากเกิดอุบัติเหตุหรือเกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันขึ้นกับรถที่ไม่มี พ.ร.บ.ก็จะไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ ทั้งสิ้นและผู้ที่ต้องเสียค่าชดเชยทั้งหมดก็จะเป็นเราแทนนั่นเอง
> เช็คราคาคลิกเลย <
พ.ร.บ. รถคุ้มครองอะไรบ้าง
เมื่อเราต่อ พ.ร.บ. รถมาแล้ว ก็จะได้รับการคุ้มครองจากเจ้า พ.ร.บ. รถตัวนี้ออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ดังนี้
- ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ (โดยที่ไม่ต้องรอการพิสูจน์ว่าคนถูกหรือคนผิดเป็นใคร)
- กรณีบาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาล โดยจ่ายตามจริง ซึ่งพ.ร.บ. รถจะจ่ายให้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน
- กรณีทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือพิการหลังเกิดอุบัติเหตุ จะได้รับค่าเสียหายอีกเบื้องต้น 30,000 บาทจากการบาดเจ็บ แต่จะไม่เกิน 65,000 บาทต่อคน
- กรณีเสียชีวิต ถ้าเสียชีวิตทันทีหลังจากประสบอุบัติเหตุ จะได้รับเงินค่าทำศพ 35,000 บาทต่อคน แต่ถ้าเสียชีวิตหลังจากรับการรักษาการบาดเจ็บไปแล้ว จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท และจะจ่ายแบบเหมารวมทั้งหมดโดยไม่เกิน 65,000 บาท
- ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ (การให้เงินชดเชยแก่ฝ่ายที่ถูก หลังจากได้รับการพิสูจน์ว่าฝ่ายผิดเป็นใครแล้ว)
- กรณียืนยันฝ่ายถูกได้แล้ว พ.ร.บ. รถของฝ่ายผิดจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายและค่าชดเชยแก่ฝ่ายถูกทั้งหมด ซึ่งกรณีบาดเจ็บจะได้รับค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท หากเสียชีวิต หรือพิการ จะได้รับเงินชดเชยสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
วิธีการเคลม พ.ร.บ. รถ
ขั้นตอนการขอเคลมเพื่อรับเงินชดเชยและค่าสินไหมทดแทนจากพ.ร.บ. รถ ผู้บาดเจ็บหรือคนในครอบครัวสามารถยื่นเรื่องได้เอง หรือมอบให้ทางโรงพยาบาลเป็นผู้รับแทนก็ได้ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ว่า คนถูกหรือคนผิดเป็นใคร แต่ต้องเตรียมเอกสารไปขอเคลมให้ครบ ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชนทั้งผู้บาดเจ็บและเจ้าของรถ
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบันทึกประจำวันจากตำรวจ
- สำเนาหนังสือจดทะเบียนรถ
- ตารางกรมธรรม์ประกันภัย
- ใบเสร็จรับเงินและใบรับรองแพทย์จากทางโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษา
> เช็คราคาคลิกเลย <
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ปี 2565 เสียค่าธรรมเนียมเท่าไร
ค่าเสียหายที่เราต้องเตรียมไปจ่ายเมื่อต่อ พ.ร.บ.รถ มักขึ้นอยู่กับประเภทรถของผู้ขับขี่และบริษัทประกันที่เลือกว่าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมมากหรือน้อยแค่ไหน ดังนี้
- ประเภทรถยนต์โดยสาร
- รถยนต์โดยสาร ที่นั่งไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง) ค่าธรรมเนียมประมาณ 600 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน ไม่เกิน 15 ที่นั่ง (รถตู้) ค่าธรรมเนียมประมาณ 1,100 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 15 ที่นั่ง ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ค่าธรรมเนียมประมาณ 2,050 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 20 ที่นั่ง ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ค่าธรรมเนียมประมาณ 3,200 บาท
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 คน เกิน 40 ที่นั่ง ค่าธรรมเนียมประมาณ 3,740 บาท
- ประเภทรถกระบะ/รถบรรทุก
- รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก ไม่เกิน 3 ตัน (รถกระบะ) ค่าธรรมเนียมประมาณ 900 บาท
- รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 3 ตัน ไม่เกิน 6 ตัน ค่าธรรมเนียมประมาณ 1,220 บาท
- รถยนต์บรรทุก น้ำหนัก เกิน 6 ตัน ไม่เกิน 12 ตัน ค่าธรรมเนียมประมาณ 1,310 บาท
- รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม ไม่เกิน 12 ตัน ค่าธรรมเนียมประมาณ 1,680 บาท
- รถยนต์บรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊ส หรือกรด ขนาดน้ำหนักรวม เกิน 12 ตัน ค่าธรรมเนียมประมาณ 2,320 บาท
ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ไหนดี
เมื่อถึงเวลาต่อ พ.ร.บ. รถ จะต้องรู้รายละเอียดรถของเราก่อนว่า เป็นยี่ห้อไหน รุ่นอะไร และปีที่จดทะเบียนปีไหนเพื่อที่จะได้นำไปกรอกข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ซึ่งวิธีการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ในปัจจุบันมีทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยเราสามารถเลือกทำตามความสะดวกของตัวเองได้เลย
แต่ถ้าจะให้แนะนำการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์ที่ง่าย สะดวก สบาย โดยไม่จำเป็นต้องไปต่อคิวยาวเหยียดจนเสียเวลาทั้งวัน และไม่ต้องออกไปเสี่ยงรับเชื้อโควิด-19 การต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์กับทิพยประกันภัยก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในยุคนี้
> เช็คราคาคลิกเลย <
ขั้นตอนการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ออนไลน์กับทิพยประกันภัย
1. กรอกข้อมูลและรายละเอียดของรถยนต์ที่ต้องการต่อ พ.ร.บ.
เข้าเว็บไซต์ www.TIPINSURE.com เลือกหน้าเช็คราคาประกันภัยรถยนต์ แล้วกรอกข้อมูลรถยนต์ตามหัวข้อที่กำหนด (สีทะเบียนรถ, ปีที่จดทะเบียน, ยี่ห้อรถ, รุ่นรถ และรุ่นย่อย) และกดปุ่มเช็คราคา
2. เลือกแผน พ.ร.บ. รถ
ระบบจะขึ้นรายละเอียดความคุ้มครองของแผนประกันรถให้ พร้อมค่าธรรมเนียมตามประเภทของรถยนต์ โดยให้เรากดเลือกไปสู่ขั้นตอนถัดไปได้เลย
3. กรอกข้อมูลส่วนตัว รถยนต์ และเลือกวันคุ้มครอง
เราต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลรถยนต์อย่างละเอียด หากไม่แน่ใจความถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลรถยนต์ ให้เรานำข้อมูลจากเล่มทะเบียนรถมาตรวจสอบและกรอกได้เลย จากนั้นเลือกวิธีการรับกรมธรรม์ว่า ต้องการที่จะรับทางไหน ซึ่งทิพยประกันภัยมีให้เลือกทั้งแบบรับทางอีเมล หรือจะรับทางอีเมลพร้อมกับทางไปรษณีย์ก็ได้ด้วย
4. ชำระเงิน
ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จากนั้นเลือกกดเลือกช่องทางการชำระเงิน ซึ่งมีให้เลือกหลายช่องทางตามความสะดวกของเรา ทั้งชำระผ่านบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต, สแกน QR Code, Rabbit LINE Pay, ShopeePay เป็นต้น เมื่อชำระเสร็จก็เป็นอันเรียบร้อยและรอรับกรมธรรม์ทางช่องทางที่เราเลือกไว้ได้เลย
สำหรับใครที่พ.ร.บ. รถกำลังจะหมดอายุ หรือกำลังมองหาที่ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ให้ความสะดวก คุ้มค่า ราคาถูก ด้วยราคาเริ่มต้นเพียง 569 บาท สามารถต่อพ.ร.บ. รถได้แล้ววันนี้กับ TIPINSURE.com ผ่านช่องทางออนไลน์ และรอรับกรมธรรม์ได้เลยทันทีหลังชำระเงิน หรือ คลิก