เดินทางไกล ควรเตรียม ยา อะไรติดกระเป๋าบ้าง

จำนวนผู้เข้าชม : 745

เดินทางไกล ควรเตรียม ยา อะไรติดกระเป๋าบ้าง

     ในช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ หลายคนเตรียมเดินทางไกลเพื่อไปท่องเที่ยวใกล้บาง ไกลบ้าง แล้วแต่ใจต้องการ บางคนมัวแต่เตรียมเสื้อผ้า หมวก แว่นกันแดด กล้องถ่ายรูป  โน้นนี่นั้นกันไป แต่สิ่งที่อาจจะไม่ได้นึกถึง คือ ยา สำหรับเวลาเจ็บป่วยระหว่างทาง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเดินทาง

     ยา พื้นฐานสำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน อาทิ ยาแก้ปวดลดไข้ พาราเซตามอล ชนิดเม็ดหรือชนิดน้ำ ยาแก้แพ้ซึ่งสามารถลดน้ำมูก และใช้บรรเทาอาการคันได้ด้วย ยาลดกรด ชนิดเม็ดหรือชนิดน้ำ ผงเกลือแร่ ผงถ่านกรณีท้องเสีย ยาแก้เมารถ ยาแก้ปวดเมื่อย และอุปกรณ์ทำแผล

     ยา ที่ไม่ควรกินระหว่างเดินทาง ในขณะที่ขับรถนั้นต้องศึกษาก่อนว่า ยาที่กินมียาตัวใดที่กินแล้วทำให้ง่วงนอน ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือยาในกลุ่มแก้ปวด ไมเกรน ยาคลายกังวลบางชนิด ยาพวกนี้จะทำให้ง่วงนอน ความสามารถในการรับรู้เสียไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ควรปรับเวลาเพื่อพักผ่อนหลังทานยาสัก 1 – 2 ชั่วโมง แล้วจึงขับต่อไป

     ยา สำหรับผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว มียาที่ต้องกินเป็นประจำ ต้องเตรียมยาในปริมาณเท่ากับวันที่เดินทางหรือสำรองเพิ่ม 3-5 วัน และควรจะติดชื่อยาไปด้วยเพราะหากยาตกหล่นสูญหาย จะได้สามารถซื้อยาตัวเดิมหรือเข้าโรงพยาบาล แจ้งแพทย์ได้ว่าใช้ยาอะไร

     ยา สำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือมีโรคประจำตัว ห้ามลืมยาประจำที่คุณหมอให้กิน และถ้าหากมีอาการฉับพลัน ให้เลือกใช้เฉพาะยาพาราเซตามอลเท่านั้น เพื่อลดไข้แก้ปวดหรือใช้คลอเฟนิรามีนได้เพื่อลดน้ำมูก สำคัญที่สุดควรมีเบอร์โทรศัพท์ของแพทย์เจ้าของไข้หรือพยาบาลที่ฝากครรภ์ จะได้โทรปรึกษาหรือหากมีเหตุสุดวิสัยจริงๆ ให้เข้าพบแพทย์ที่สถานพยาบาลในพื้นที่นั้นๆ ทันที

 

5 โรคที่พบบ่อยในการเดินทางไกล ได้แก่

  1. ไข้หวัด เนื่องจากอุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยนแปลงฉับพลันจากอากาศร้อน จากร่างกายที่เปียกน้ำ พักผ่อนน้อย รวมถึงอยู่ในที่ชุมชนทำให้มีโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่าย
  2. ท้องเสีย อากาศร้อนแบบนี้ต้องระวังเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสบูดเสียได้ง่าย
  3. โรคกระเพาะอาหาร เพราะว่าคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอาการจะกำเริบขึ้นมาได้ เนื่องจากการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
  4. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้หญิงจะเป็นเยอะมาก เนื่องจากระหว่างการเดินทางในช่วงสงกรานต์ รถติด ห้องน้ำเข้าไม่ได้ ไม่สะดวก อั้นไว้ สุดท้ายแล้วก็เกิดการติดเชื้อขึ้น
  5. ไข้เลือดออก หรือมาลาเรีย สำหรับคนที่เที่ยวป่าหรือน้ำตก ถ้ามีไข้ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อวินิจฉัยและบำบัดรักษา ไม่ควรสรุปเองว่าอาจเป็นไข้ กินยาพารา หรือกลับมาบ้านรอดูอาการซึ่งอาจจะไม่ทันการณ์ส่งผลถึงแก่ชีวิตได้

 

"แต่ที่ดีที่สุดคือต้องดูแลตัวเองไม่ให้เจ็บป่วยจะดีที่สุด ไม่งั้นคงหมดสนุกแน่ๆ"

หากมีปัญหาเรื่องของการใช้ ยา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Call Center 1648 ในวันเวลาราชการ
 

สำหรับท่านใดที่วางแผนจะเดินทางแล้วยังไม่มี ประกันเดินทาง

เราขอแนะนำ ประกันท่องเที่ยว จาก ทิพยประกันภัย ที่คุ้มครองคุณทุกการเดินทาง

ปล. กดติดตาม เพจ ทิพยประกันภัย แล้วคุณจะไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวบนโลกโซเชียว อินทุกกระแส ครับ 

ขอให้ๆ เพื่อนๆ เดินทางโดยสวัสดิภาพ จาก ทิพยประกันภัย

 

ข้อมูล : Mthai.com

บทความที่เกี่ยวข้อง