มือใหม่ต้องรู้ ระบบเบรกรถยนต์มีกี่แบบ เลือกแบบไหนเหมาะกับคุณ
จำนวนผู้เข้าชม : 24
ทำความเข้าใจเบรกรถยนต์มีทั้งหมดกี่ประเภท
สำหรับคนใช้รถมือใหม่ ความรู้และความเข้าใจในระบบเบรกรถยนต์ถือว่าเป็นเรื่องยาก เพราะเบรกรถยนต์แต่ละประเภทจะมีการใช้งานและข้อดี-ข้อเสียที่ต่างกัน และด้วยระบบเบรกรถยนต์มีความสำคัญต่อการขับขี่เป็นอย่างมาก ผู้ใช้งานจึงต้องมีความเข้าใจการใช้งานของระบบเบรกรถยนต์เป็นอย่างดี เพราะหากไม่มีความรู้เลยใช้งานเกียร์ไม่เป็น อาจทำให้คุณเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้
ใครที่เป็นมือใหม่หัดขับ และยังไม่เข้าใจในระบบเบรกรถยนต์ที่ดีพอ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบเบรกรถยนต์มาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว เบรกรถยนต์สำคัญยังไงต่อการขับขี่ ? เบรกรถยนต์มีกี่ประเภท ? ดรัมเบรกกับดิสก์เบรก ต่างกันยังไง ? วิธีดูแลรักษาเบรกรถยนต์ให้ปลอดภัยพร้อมใช้งาน มีอะไรบ้าง ? ถ้าพร้อมแล้วไปไปทำความเข้าใจพร้อมกันได้เลย
เบรกรถยนต์สำคัญยังไงต่อการขับขี่
ระบบเบรกรถยนต์มีความสำคัญต่อการขับขี่เป็นอย่างมาก เพราะระบบเบรกรถยนต์มีหน้าที่ในการควบคุมรถให้สามารถชะลอความเร็วลง ช่วยให้ผู้ขับขี่หยุดรถหรือชะลอรถได้อย่างปลอดภัย หากระบบเบรกรถยนต์เกิดความเสียหาย ทำงานขัดข้อง ส่งผลให้ผู้ใช้งานไม่สามารถเบรกรถได้ ซึ่งอาจนำไปสู่อุบัติเหตุ ถึงขั้นเสียชีวิตและทรัพย์สินได้
เบรกรถยนต์มีกี่ประเภท ?
ปัจจุบันระบบเบรกรถยนต์มีด้วยกัน 2 ประเภท ซึ่งจะมีหลักการทำงาน การใช้งาน รูปลักษณ์ภายนอก รวมถึงข้อดี ข้อเสียต่างกันดังนี้
ดิสก์เบรก (Disc Brake)
ดิสก์เบรก (Disc Brake) เป็นระบบเบรกรถยนต์ที่นิยมใช้กันมากขึ้น พบได้ในรถรุ่นใหม่ ๆ เช่น รถยนต์ รถกระบะรุ่นใหม่ หรือรถสมรรถนะสูง ส่วนใหญ่จะได้รับการติดตั้งอยู่บริเวณสองล้อหน้า มีลักษณะกลมแบนคล้ายจานดิสก์ ทำมาจากวัสดุหลายชนิด เช่น เหล็กหล่อ และวัสดุผสม รวมถึงมีทั้งแบบมีร่องระบายความร้อน และไม่มีร่องระบายความร้อน
ระบบการทำงานดิสก์เบรก เมื่อผู้ใช้งานเหยียบเบรก ระบบเบรกจะดันผ้าเบรกให้สัมผัสกับจานเบรกของล้อรถเพื่อทำให้รถชะลอความเร็วลง และหยุดได้ในที่สุด มักใช้ดิสก์เบรกกับล้อหน้า หรือรถยนต์บางรุ่นจะใช้ดิสก์เบรกทั้ง 4 ล้อ
ข้อดีของดิสก์เบรก
- เป็นระบบเบรกรถยนต์ที่สามารถตอบสนองต่อการหยุดรถได้ดีและรวดเร็ว
- มีการระบายความร้อนและระบายน้ำได้ดี
- ระยะห่างผ้าเบรกมีการปรับตั้งได้เอง ทำให้ประสิทธิภาพดีเท่ากันในทุกล้อ
- บำรุงรักษาง่าย มีความสวยงาม
- ลดโอกาสการเกิดเฟด เมื่อผ้าเบรกทำงานขัดข้องจะมีการเพิ่มแรงเสียดทานกับพื้นถนน ทำให้รถชะลอความเร็วลง
ข้อเสียของดิสก์เบรก
- กำลังในการหยุดรถน้อยกว่าระบบดรัมเบรก ไม่เหมาะกับรถบรรทุกหนัก
- ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง เพราะใช้ต้นการผลิตทุนสูง
- ผ้าเบรกหมดไว ต้องมีการเปลี่ยนผ้าเบรกบ่อย ๆ
- ใช้แรงเหยียบเบรกมากกว่าระบบดรัมเบรก
- จานเบรกจะติดตั้งอยู่ภายนอกจะทำให้สัมผัสกับความชื้น น้ำ และฝุ่นผง ทำให้เสื่อมไว
- บิดตัวได้ง่าย เมื่อต้องเจอกับน้ำในขณะมีความร้อน
ดรัมเบรก (Drum Brake)
ดรัมเบรก (Drum Brake) เป็นระบบเบรกรถยนต์แบบไฮดรอลิก ซึ่งถือว่าเป็นระบบเบรกในยุคแรก ๆ ที่ได้มีการนำมาใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ดรัมเบรกจะถูกติดตั้งกับลูกล้อ ระบบการทำงานของดรัมเบรกนั้นจะใช้หลักการของแรงผลัก เพื่อทำให้ล้อรถเกิดแรงเฉื่อยจนรถหยุด
ภายในตัวดรัมเบรกจะมีผ้าเบรกที่มีรูปร่างโค้งสองอัน เรียกว่า ฝักนำและฝักตาม เมื่อผู้ใช้งานเหยียบเบรก ผ้าเบรกจะถูกแม่ปั๊มดันให้ไปติดกับด้านในของฝาครอบเบรก (Drum) ซึ่งฝาครอบเบรกจะยืดติดกับล้อรถอีกที เพื่อทำให้ความเร็วของรถค่อย ๆ ชะลอลงจนหยุดอยู่กับที่
ข้อดีของดรัมเบรก
- ช่วยเพิ่มแรงจับประกบกับฝาครอบเบรกได้อัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องใช้แรงเหยียบเบรกมาก
- มีความสามารถในการหยุดรถได้เร็ว เพราะก้ามเบรกและดรัมเบรกถูกติดตั้งกับลูกล้อ เหมาะกับรถที่ใช้บรรทุกของหนัก ๆ เช่น รถบรรทุก รถกระบะ หรือรถยนต์บางรุ่น
ข้อเสียของดรัมเบรก
- มีความร้อนสะสมสูง เกิดจากการเสียดสีระหว่างผ้าเบรกในดรัมเบรก ทำให้มีการถ่ายเทความร้อนได้ยาก มีผลให้ประสิทธิภาพในการเบรกลดลงเมื่อขึ้นลงทางลาดชัน
- เป็นระบบเบรกรถยนต์แบบปิด จึงระบายน้ำได้ไม่ค่อยดีเท่าชุดดิสก์เบรก และดูแลรักษายาก
วิธีดูแลรักษาเบรกรถยนต์ให้ปลอดภัยพร้อมใช้งาน
- ผู้ใช้งานควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก ทุก ๆ 25,000 กิโลเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ระบบเบรกรถยนต์เกิดสนิม และเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการหล่อลื่น
- เช็กผ้าเบรกและจานเบรกอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีเศษหิน ดิน ทรายติดอยู่ ซึ่งอาจทำให้จานเบรกเป็นรอยได้ หรือหากเป็นระบบดรัมเบรก ควรเช็กระยะห่างของผ้าเบรกด้วย ควรจัดตั้งให้ระยะผ้าเบรกชิดขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเบรก
- ควรตรวจเช็กท่อหรือสายต่าง ๆ ที่อยู่ในระบบเบรกรถยนต์ โดยนำไปให้ช่างเช็กดูว่าสายยังนิ่ม หรือเสียรูป แตกร้าวหรือไม่ เพราะหากสายต่าง ๆ แข็งกระด้าง เวลาใช้งานน้ำมันเบรกอาจจะซึมออกทำให้รถเบรกแตกได้
- มีการล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรกอย่างน้อย 4 ปี/ครั้ง เช่น ลูกยางแม่ปั๊มเบรก ลูกยางลูกสูบเบรก และยางกันฝุ่น เพื่อป้องกันลูกสูบเบรกเกิดสนิมจากการขับรถลุยน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเบรกติด หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมได้
สรุปบทความ
ระบบเบรกรถยนต์มีความสำคัญต่อการขับขี่เป็นอย่างมากโดยเฉพาะด้านความปลอดภัย ดังนั้นผู้ขับขี่ควรเรียนรู้และทำความเข้าใจการใช้งานเบรกแต่ละชนิดให้ดี และควรหมั่นตรวจเช็ก ดูแลรักษาเบรกรถยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ แต่หากใครที่มีความกังวลว่าจะเกิดเหตุไม่คาดฝันแบบนี้ เราแนะนำให้ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่เหมาะกับมือใหม่หัดขับ โดยเฉพาะผู้หญิงที่เราพร้อมบริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมงการเดินทาง